วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แ ก้ ปั ญ ห า J u n k m a i l

พักหลังบรรดาอีเมล์ขยะหรือที่เรียกว่า Junk mailนั้นเริ่มระบาดไปทั่วและดูเหมือนจะมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นช่องทางให้บรรดาผู้ทำตัวกอง E-mail ขายดิบขายดี

ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้บริการฟรีอย่างHotmailหรือYahooเมล์อาจจะไม่เจอปัญหาเหล่านี้มากนักเพราะตัวผู้ให้บริการเองมีการตั้งตัวกรองอีเมล์มาระดับหนึ่ง
จะมีก็แต่อีเมล์ไวรัสสารพัดรูปแบบที่แฝงมาจากคนรู้จักเท่านั้น แต่กับคนที่ใช้อีเมล์ส่วนตัวโดยเฉพาะคนที่มีเว็บไซด์เป็นของตัวเองแล้วอีเมล์ขยะที่ว่านี้นับวันจะเริ่มก่อกวนคุณหนักขึ้นเรื่อยๆถ้าคุณเช็คอีเมล์ครั้งหนึ่งจะมีอีเมล์มาประมาณ 20-30 ฉบับ แต่อาจเป็นอีเมล์ที่คุณต้องการจะดูจริงๆเพียง 5-7 ฉบับเท่านั้นนอกนั่นก็เป็นโฆษณามั่ง ขายของมั่ง ประกันมั่ง และอีกสารพัดตอนที่ผมเจออีเมล์ขยะช่วงแรกๆก็รำคาญเหมือนกันครับ ผมก็ใช้คุณสมบัติ Block Sender ที่มาในโปรแกรม OutlookExpressก็พอช่วยไปได้ในระดับหนึ่งเพราะสมัยก่อนอีเมล์พวกนี้ยังไม่มีและสามารถลดจำนวนอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ลงไปได้หลายฉบับ แต่พอมีมากๆเข้ารู้สึกว่าคุณสมบัติ Block Sender เริ่มเอาไม่อยู่ในทุกวันนี้เวลาที่ผมเช็คอีเมล์เสร็จแล้วหันไปมองที่โฟลเดอร์ Deleted itemsจะเห็นเป็นตัวเลขปรากฏขึ้นให้รอทิ้งอยู่เป็นหลักสิบ แต่กระนั้นอีเมล์ขยะหน้าใหม่ก็จะหลุดรอดมาอยู่ใน Index ของผมอีกหลายสิบ

วิธีการป้องกัน

วิธีการป้องกันนั้นเราอาจจะต้องใช้โปรแกรมกรองอีเมล์ที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปแต่สำหรับวิธีของผมนั้นก็ไม่ยาก แต่ก็ยอมรับว่าอาจจะไม่เหมาะกับบางลักษณะงานในบางธุรกิจ คือ ผมจะมีอีเมล์กลางไว้ให้ผู้คนได้ติดต่อทิ้งไว้ในเว็บไซด์และมีอีเมล์ส่วนตัวไว้ใช้อีกอีเมล์หนึ่งพอครบปีหนึ่งผมจะเพิ่มชื่ออีเมล์กลางขึ้นมาอีกอีเมล์หนึ่ง แล้วนำไปแทนที่อีเมล์กลางอันเดิมที่เว็บไซด์แล้วพักๆ ผมก็ไปสั่งลบอีเมล์กลางอันเก่าที่ไม่ใช้ (เพราะมีอีเมล์spam)ทำให้ลดปริมาณอีเมล์ขยะลงไปได้เยอะทีเดียว โปรดอย่าลืมว่านั้นมีค่ามีความหมายเพราะผมเห็นหลายบริษัทละเลยที่จะตรวจสอบอีเมล์ส่วนนี้ (เมล์ไปไม่มีคนตอบกลับ) เพราะหากคุณปล่อยให้กลุ่มเป้าหมายเล็ดรอดไปเพียงรายเดียว... ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

อีเมล์พวกนี้มาจากไหน

ที่มาของอีเมล์ขยะพวกนี้มีที่มาอยู่หลายแห่งมีตั้แต่แหล่งเพาะพันธ์อีเมล์ขยะชั้นดีอย่างพวกอีเมล์ที่สะสมอีเมล์ไว้หลายสิบล้านแอดเดรส เพื่อรอขายให้คนไปหว่านโฆษณาเรื่อยไปจนถึงการทำ Direct marketing ผ่านทางอีเมล์

1. จากแผ่นซีดีรอมรวมฮิต (อีเมล์)
คุณผู้อ่านบางท่านอาจเคยผ่านหูผ่านตามาบ้างว่าเดี๋ยวนี้เขามีแผ่นซีดีรอมที่สะสมอีเมล์จากเว็บไซด์ต่างๆ พร้อมแยกหมวดหมู่ให้เสร็จสรรพปั้มกันออกมาขายแถมด้วยโปรแกรมสาดอีเมล์ตามหมวดหมู่ และประเทศที่ต้องการอย่างพร้อมสรรพ ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะอยู่ในประเทศสหรัฐ
ฉะนั้นใครก็ตามที่ซื้อแผ่นซีดีรอมที่ว่านี้ไปเขาก็จะสาดอีเมล์ไปยังผู้เคราะห์ร้ายที่มีรายชื่ออยู่ในแผ่นดังกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าอาจพูดได้ว่าแผ่นซีดีรอมที่ว่านี้ขายดีเท่าไหร่ ่บรรดาผู้ที่ตกเป็นรายชื่อปรากฏอยู่ในแผ่นซีดีรอมดังกล่าว ก็รับความรำคาญเพิ่มขึ้นเท่านั้น หากจะถามว่าจำนวนรายชื่อรายชื่อที่สะสมอยู่ในแผ่นซีดีรอมรวมฮิตอีเมล์ที่ว่านี้มีจำนวนเท่าไหร่เท่าที่ผมเห็นโฆษณาล่าสุดนี้มีประมาณร้อยล้านอีเมล ์เรียกได้ว่ามีจำนวนไล่เลี่ยกับจำนวนเว็บไซด์ที่มีอยู่ในปัจจุบันเลยทีเดียว ซึ่งผิดกับเมื่อ 2-3 ปีก่อนก่อนที่มีรายชื่ออีเมล์เก็บใส่ในแผ่นซีดีรอมเพื่อรอปั้มขายกันในประมาณหลักสิบล้านต้นๆ เท่านั้น คุณผู้อ่านจะสงสัยว่าแล้วอีเมล์เป็นสิบล้านร้อยล้านนี้เขาเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร?วิธีการเก็บรายชื่ออีเมล์จากเว็บไซด์นั้นเขาใช้บรรดาโปรแกรมอัตโนมัตินี่แหละครับ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโปรแกรมที่เรียกว่า Webbot ขออนุญาตอธิบายตัวโปรแกรมในประเภท Webbot นี้กันซักเล็กน้อยโปรแกรมประเภทดังกล่าวจะมีใช้อยู่ในธุรกิจที่ให้บริการค้นหาข้อมูล เช่น ธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิ้นต่างๆ เป็นหลักไม่ว่าจะเป็น Altavista , Google และที่อื่นๆ (ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเสิร์ชเอ็นจิ้น เปิดให้บริการอยู่หลายพันแห่ง) หน้าที่ของโปรแกรมประเภท Webbot นี้จะคอยวิ่งเก็บรายชื่อ URL รวมทั้งคอยตรวจสอบ Link ที่มีอยู่ใน URL เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลส่วนวิธีการเก็บข้อมูลของอีเมล์เหล่านี้ ก็จะใช้หลัการเดียวกันเพียงแต่ดัดแปลงโปรแกรมให้มองหาอีเมล์ในเนื้อหาของเว็บเพจ ใน URL นั้นๆเข้ามาในระบบฐานข้อมูลด้วย วิธีการตรวจสอบว่ามีโปรแกรมประเภท Webbot ของใครมาป้วนเปี้นในเว็บไซด์เราบ้างเราตรวจสอบได้โดยการเข้าไปดูที่ LogFile บนเซริฟเวอร์ หรือสามารถตรวจสอบได้จากโปรแกรมรายงานสถิติผู้ที่เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา (ถ้าโปรแกรมรายงานสถิตินั้นๆ มีความสามารถในการเก็บข้อมูลเว็บอ้างอิงที่เป็น referer ได้และ LogFile ที่เก็บในเซิร์ฟเวอร์นั้นๆจะต้องสั่งจัดเก็บข้อมูล Log ตามมาตรฐาน W3C ด้วย) ดังนั้นอีเมล์ขยะที่เข้ามากวนใจอีเมล์ของคุณด้วยวิธีนี้ จะเป็นอีเมล์กลางที่ใช้ในการ ติดต่อของบริษัท เช่น info@yourcompanyname.com , contact@yourcompanyname.com หรือ webmaster@yourcompanyname.com เป็นต้น เพราะโปรแกรมอีเมล์เซิร์ฟเวอร์โดยส่วนใหญ่จะกำหนดเป็น Default มาว่าถ้าอีเมล์คนรับผิดแต่ชื่อโดเมนถูก จะให้ส่งเข้าไปหาอีเมล์ส่วนกลางทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าของเว็บไซด์ตกหล่นข่าวสาร หรือขาดการติดต่อจากโลกภายนอก และด้วยคุณสมบัตินี้ก็เป็นข้อเสียอย่างหนึ่งที่เปิดช่องให้บรรดาคนทำอีเมล์ขยะฉวยโอกาสทำโฆษณาได้ง่าย

2.จากการขายชื่ออีเมล์ของเว็บไซด์ที่เคยไปลงทะเบียนเอาไว้
หากคุณเป็นนักท่องเว็บที่กระหายข้อมูลคงเป็นธรรมดาครับที่คุณอาจจะเคยไปลงทะเบียนไว้ในเว็บไซด์หลายๆที่เพื่อขอ UserID กับ Password ในการLogin ไปดูข้อมูลฟรีก็ยอมรับว่าบางเว็บไซด์ไม่มีนโยบายขายข้อมูลในการลงทะเบียนส่วนนี้แต่บางเว็บไซด์ก็มีและอาจไม่ได้แจ้งให้คุณทราบล่วงหน้า ซึ่งเรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่บังคับกันไม่ได้ (ไหนๆคุณก็ให้ข้อมูลเขาไปแล้ว)

3.จากการเห็นอีเมล์สำหรับติดต่อในเว็บไซด์ของเรา ส่วนวิธีนี้ก็เป็นวิธีพื้นๆของตนที่ต้องการจะโปรโมตเว็บไซด์คือ ไปกวาดรายชื่อตามเว็บไซต์ต่างๆที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมา เช่น จาก Yahoo บ้าง จาก MSN บ้างแล้วทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการของตนเองไปยังอีเมล์เหล่านั้น วิธีการนี้อาจจะได้ผลค่อนข้างมากหากคุณริเริ่มใช้เมื่อสัก 2-3 ปีก่อนเพราะจำนวนอีเมล์ขยะในสังคมอินเตอร์เน็ตยังมีไม่มากผู้คนโดยส่วนใหญ่ยังยอมรับว่าวิธีนี้เป็นการประชาสัมพันธ์ที่สุภาพอย่างหนึ่ง แต่สำหรับในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นอีเมล์ก่อความรบกวน (Spammail) เพราะมีคนคิดจะประชาสัมพันธ์เว็บของตนเองด้วยวิธีนี้กันค่อนข้างมาก

4.จากการใช้เทคนิคส่งเมล์ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ วิธีการนี้บรรดาผู้ส่งอีเมล์ขยะจะใช้กับเว็บดังๆหรือไซต์พอร์ตทัลดังๆเพื่อกระจายอีเมล์ของตนเองไปยังสมาชิกจำนวนมาก
โดยอาศัยช่องว่างของโปรแกรมเมล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น เมล์เซิร์ฟเวอร์ในบางระบบกำหนดไว้ว่า ถ้าส่งอีเมล์ชื่อ nobody@ชื่อdomain.com
หมายถึงการสาดอีเมล์ไปยังทุกๆคนในระบบภายใต้โดเมนเดียวกัน เป็นต้น

ผลเสียที่ตามมา
ผลจากการที่อีเมล์ขยะมีจำนวนมากขึ้นตำรับตำราของ E-business ที่เคยเขียนกันว่าวิธีการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ที่ดี คือการทำ Direct email นั้นกลายเป็นการทำ Spam mail ในสายตาของผู้รับไปโดยทันทีเนื่องจากคนที่คิดในลักษณะเดียวกันนี้ มีเป็นจำนวนมาก ทำให้วิธีการประชาสัมพันธ์ด้วย วิธีการทำ Direct email ไม่เป็นที่น่าเชื่อถืออีกต่อไป
สำหรับคนที่ชอบอ่านตำราทางด้าน e-business จะเป็นของคนไทย หรือของต่างประเทศก็ดี ถ้าตำราเล่มไหนยังสอนให้คุณทำการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีนี้อยู่ก็แนะนำว่าไม่ต้องไปอ่านส่วนที่เหลืออีก เพราะรูปแบบการทำ e-business ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว หรือพูดได้อีกอย่างว่าตำรานั้นล้าสมัยไปเสียแล้ว

สำหรับคนที่สร้างเว็บไซต์ในยุคหลังๆวิธีการทำประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ก็เหลือแต่เพียงการลงในสื่อโฆษณาปกติ (วิทยุ ,โทรทัศน์ , หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร ) และการลงโฆษณาในไซต์พอร์ตทัลดังๆ ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่ยังพอใช้ได้ คือการทำโปรแกรมแนะนำเว็บไซด์ไปให้คนอื่นจากคนที่มาเยี่ยมชมเว็บคุณเอง เพื่อให้คนที่มาเยี่ยมชม ส่งอีเมล์แนะนำเว็บไซต์ ของคุณไปยังคนที่เขาต้องการจะบอกต่อ ซึ่งวิธีนี้เรียกว่าเป็นวิธี “ปากต่อปาก” และถือได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดของการประชาสัมพันธ์เว็บของคุณเอง ( หมายความว่าถ้าเว็บคุณดีจริงจะมีคนช่วยประชาสัมพันธ์ให้คุณเอง) รูปแบบของอีเมล์ขยะ ในส่วนนี้ผมขอหยิบยกเอาประเภทของรูปแบบอีเมล์ขยะที่เคยพบมาเล่าสู่กันฟังครับ

1.หลอกให้ลงทุน อ้างว่าจะให้ทุนคืนหรือผลตอบแทนงาน อีเมล์ดังกล่าวจะชวนให้ลงทุน เช่น ซื้อหุ้น ซื้อ อัตราแลกเปลี่ยนพบค่อนข้างเยอะในอีเมล์ที่มาจากต่างประเทศ แต่ก็ไม่แน่ครับว่าอีกหน่อยจะมีอีเมล์ทำนองนี้ จากธุรกิจต้มตุ๋น ของคนในประเทศเราเองก็ว่าได

้ 2.ขายอุปการณ์หรือบริการที่เกี่ยวกับธุรกิจทางเพศ อีเมล์ประเภทนี้ ไม่ต้องห่วงครับ ไม่ว่าชายหรือหญิง ไม่ว่าคุณจะเคยเข้าไปดูเว็บไซต์ในลักษณะดังกล่าวหรือไม่ คุณมีโอกาสที่จะได้รับอีเมล์โฆษณาในรูปแบบนี้ได้เสมอ ก็ต้องยอมรับแหละครับว่าคนทำธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจทางเพศนั้นมีความพยายามในการทำ Spam mail สูง
ทั้งยังมีลูกล่อลูกชนทางเทคนิคที่แพรวพราวสารพัด สำหรับคุณผู้อ่านที่ปล่อยให้บุตรหลานใช้อีเมล์ตามลำพังนั้น คงต้องใส่ใจดูแลกันสักนิด เพราะคนทำธุรกิจเหล่านี้เริ่มหันมาใช้นโยบายเชิงรุก มากกว่าตั้งรับแบบสมัยก่อน
เนื่องจากธุรกิจออนไลน์ทางเพศนี้ มีเงินสะพัดในธุรกิจมากมายมหาศาลทีเดียวทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง ตามด้วยการแย่งชิงลูกค้าตามมาโดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่น

3.ประกันภัยถือเป็นอีเมล์โฆษณาที่ติดอันดับต้นๆของการทำอีเมล์ขยะ ในปัจจุบันผมจะได้รับเมล์จากต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งมีรูปแบบบริการประกันให้สารพัด
เพราะในตลาดสหรัฐนั้นการ e-insurance มีความก้าวหน้ารวมทั้งได้รับความสะดวกมากทีเดียว และผมเองก็แน่ใจเหลือเกินว่า ในไม่ช้านี้ คุณคงจะได้เห็นอีเมล์ขยะที่ส่งมาจากบรรดาตัวแทนประกันของคนไทยด้วยกันเอง

4. MLM… ธุรกิจขายตรงหลายชั้นอีเมล์ในลักษณะนี้คงไม่ต้องพูดอะไรกันมาก เพราะคนที่ทำเว็บไซต์พอร์ตทัลในบ้านเราหลายที่ โดนกวนกันถ้วนหน้า
โดยเฉพาะธุรกิจที่อ้างตัวว่าเป็นธุรกิจ Work form home ซึ่งระบาดอย่างหนักในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ก็คงได้แต่รอกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับถัดๆไปครับ ที่จะออกมาจัดการกับธุรกิจกลุ่มนี้ ให้เข้าข่ายผิดกฎหมายทางแพ่ง ซึ่งสามารถเรียกร้องความเสียหายได้ถ้าหากเจอตัว

5. ปล่อยกู้ เคลียร์หนี้ถือเป็นอีเมล์ขยะเต็งหนึ่งไม่แพ้อีเมล์ธุรกิจขายตรงแบบหลายชั้นเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอีเมล์โฆษณารับจ้างเคลียหนี้ บัตรเครดิต นับเป็นพฤติกรรมสุดฮิตของคนอเมริกัน และล่าสุดก็ได้ข่าวทางโทรทัศน์มาว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมที่จะยกเลิกเพดานการขอใช้บัตรเครดิต ซึ่งจะปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์ไปจัดการบริหารตั้งกฎเกณฑ์กันเอาเอง
ฟังดูอาจเป็นข่าวดีสำหรับคนทำธุรกิจบนเน็ต เพราะจะเกิดโอกาสการซื้อของผ่านเน็ตด้วยบัตรเครดิตมากขึ้น แต่กระนั้นก็จะมีคนติดหนี้ เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ก็เชื่ออีกครับว่า บรรดาธุรกิจเคลียร์หนี้ ปล่อยเงินกู้นอกระบบ ที่เห็นตามซอกซอยในแถบชานเมือง อีกหน่อยจะมาส่งอีเมล์โฆษณาตามรอยธุรกิจคนอเมริกันให้พวกเราได้เห็นที่หน้าจอกันแหละครับ

6. อีเมล์ไวรัส อีเมล์ไวรัสในทุกวันนี้ แนบเนียนขึ้นครับ เพราะมีเทคนิคการอ้างหรือหลอกคนเปิดอ่านได้สารพัดวิธีเช่นอ้างว่าทำเป็นเหมือนคนรู้จักแล้วทำเป็นส่งโปรแกรมทำงานมาให้ แต่ที่ร้ายที่สุดก็คือ อ้างว่ามีไวรัสระบาด อธิบายลักษณะของไวรัสแล้วหลอกให้ติดตั้งไฟล์ Patch ที่ส่งมาให้ แต่ยังดีที่ทำรูปแบบอีเมล์ได้ไม่แนบเนียนนัก ทั้งยังสามารถตรวจสอบดูแหล่งที่ส่งของอีเมล์ได้ แต่อย่างไรก็ตามไฟล์นามสกุลที่ลงท้ายเหล่านี้ .pif .exe .scr .bat หากไม่รู้จักแหล่งที่มาหรือได้รับจากอีเมล์ที่มีการทักทายหรือข้อความผิดสังเกต
( แม้จะเป็นคนรู้จักกัน )...ห้ามเปิดเด็ดขาด -.pif เป็น Shortcut ของวินโดวส์สามารถสั่งเรียกไฟล์ .exe ในภายหลัง -.exe คงเป็นที่ทราบกันว่าไม่ควรเปิด -.scr เป็นไฟล์ screen saver ซึ่งสามารถสั่งการทำงานผ่าน Active desktop ขอหงวินโดวส์ได้ -.bat เป็น batch ไฟล์ สามารถสั่งเรียกไฟล์ .exe ในภายหลังได้ ข้อคิดส่งท้าย

ท้ายสุดนี้ก็คงไม่มีหลักการ เทคนิค หรือโปรแกรมใดๆ แนะนำว่าจะป้องกัน “ Junk mail ที่รัก! ”นี้ได้ 100% อย่างไร ได้แต่ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า อย่าไปพยายามหาวิธีปิดกั้นช่องทางติดต่อทางอีเมล์ในเว็บไซต์ของตนเองเลยครับ แนะนำว่าควรจะคิดหาวิธีการลดปริมาณอีเมล์ขยะอย่างได้ผลดีกว่าเพราะถ้าคิดในแง่กลับแล้วตีความหมายได้ว่า ผู้ทำธุรกิจต่างๆ กำลังทยอยเข้าสู่การทำ ธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น โอกาสมีมากขึ้น ปัญหาก็ตามมามากขึ้นเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น