เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่แตกต่างไปจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจะสามารถทำงานได้ทันที ด้วยตัวของมันเองแล้วแต่หน้าที่หรือลักษณะการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้นๆ แต่คอมพิวเตอร์ นอกจากจะประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆภายใน (HARDWARE) จำพวกแผงวงจร อิเลคโทรนิคส์ที่บอบบางและสลับซับซ้อน แล้ว ในการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น จะทำงานได้ด้วยโปรแกรมควบคุม (DRIVER)
อุปกรณ์ ทุกชนิดที่ประกอบเข้าด้วยกันทั้งภายในและภายนอกเครื่อง แม้จะเอามาต่อกันอย่างถูก ต้องก็ไม่สามารถทำงาน ได้เลย ถ้าขาดโปรแกรมที่ควบคุม การทำงานของอุปกรณ์ แต่ละชิ้น ซึ่งโปรแกรมที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชิ้นเหล่านี้ สร้างขึ้นมาจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน และได้ติดตั้งลงในเครื่องโดยช่างเทคนิค ผู้ประกอบชิ้นส่วน พร้อมทั้งปรับแต่งการทำงานของโปรแกรม อย่างเหมาะสม ถ้าหากมีส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวโปรแกรมเหล่านี้ถูกดัดแปลงแก้ไข หรือ ลบออกจากเครื่อง ก็จะทำให้การทำงานของเครื่องผิดปกติ จนกระทั้งบางครั้งไม่สามารถเปิดใช้งานได้เลย
นอกจากโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของชิ้นส่วน ต่างๆแล้ว ในเครื่องยังประกอบด้วยโปรแกรมสำหรับการใช้งานอย่างอื่นอีกมากมาย (SOFTWARE) แล้วแต่ ผู้ประกอบจะติดตั้งลงไป เช่น
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( WINDOWS 95, WINDOWS98, WINDOWS ME)
โปรแกรม Microsoft. WORDS สำหรับพิมพ์เอกสาร
โปรแกรม POWER DVDสำหรับดูหนัง
โปรแกรม WINAMP. สำหรับฟังเพลง
โปรแกรมเล่นคาราโอเกะ และอีกหลายๆ โปรแกรมแล้วแต่ลักษณะการใช้งานในแต่ละเครื่อง
ซึ่งการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำเป็นจะต้อง เรียนรู้การใช้งานที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย
การรับประกันเครื่องคอมพิวเตอร์ บริษัทผู้ประกอบ จะรับประกันเฉพาะ ชิ้นส่วนและตัวเครื่องเท่านั้น ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ เหล่านั้นจะผลิตมาจากบริษัทไหนก็ตาม เนื่องจากตัวโปแกรม พร้อมที่จะเสียหายได้ตลอดเวลา จากการใช้งานของผู้ใช้ ที่ไม่ชำนาญ หรือรู้เท่าไม่ถึงการ ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็จะส่งผลให้ โปแกรมหยุดการทำงานได้ทันที ทั้งที่อุปกรณ์ทุกชิ้น อยู่ในสภาพปกติ เราเรียกว่าการมีปัญหาที่ระบบหรือตัวโปรแกรม
ชิ้นส่วนที่เป็นส่วนประกอบภายใน จะมีความคงทน ต่อการใช้งานปกติ และมีอายุการใช้งานได้นาน นับสิบปี ถ้าผู้ใช้มีความรู้และใช้งานอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดีการรับประกันคุณภาพของบริษัทเป็นเพียงการรับประกันความบกพร่องจากการผลิตเท่านั้น
ข้ อ ค ว ร ป ฏิ บั ติ
การเปิดเครื่องหลังจากกดปุ่ม Power แล้ว เครื่องจะทำการเรียกระบบปฏิบัติการ ใช้เวลาประมาณ 1-2 นาทีจึงจะเข้าหน้าจอ WINDOWS. และต้องรอจนกระทั่งสัญลักษณ์ นาฬิกาทรายหมดไป ระหว่างนี้ ห้าม ปิดสวิทช์เครื่อง หรือ กดปุ่มใดๆ บน คีย์บอร์ด
ไม่ควร ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยการปิดสวิทช์เครื่องเป็นอันขาด การปิดเครื่องต้องใช้ คำสั่ง CHUTDOWN. เท่านั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อน และไว ต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้า แม้เพียงเล็กน้อย เครื่องสำรองไฟ (UPS) ช่วยปรับกระแสไฟฟ้าได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ในพื้นที่ที่มีกระแสไฟ ตก หรือไฟเกิน มากๆ อาจจะทำให้เครื่องมีปัญหาในการใช้งาน ควรติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นตัวช่วย
การสำรองไฟ ของ เครื่องสำรองไฟ (UPS.) สำรองไว้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ เพื่อ การปิดเครื่องอย่างถูกต้องในกรณีไฟฟ้าดับ หรือไฟตก ควร ปิดเครื่องทันทีเมื่อมีสัญญานเตือน ของ UPS.ดังขึ้น แสดงว่าไฟตก
ขณะ ฝนตกฟ้าร้อง ไม่ควรใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรจะถอดปลั๊กออก
ด้านหลังเครื่อง ควรต่อกราวด์ โดยใช้สายไฟ ต่อจากส่วนที่เป็นโลหะ เช่น หัวน๊อต หลังเครื่อง และปลายอีกด้านฝังลงสู่พื้นดิน จะช่วยลดปัญหาจุกจิก ของคอมพิวเตอร์ได้ มาก
ปลั๊กไฟ ของคอมพิวเตอร์ ไม่ควรใช้ร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น จะทำให้กระไฟที่ได้ ไม่ปกติ(กระแสไม่พอ) และมีปัญหากับระบบการทำงานของเครื่อง
หากมีปัญหาเกี่ยวกับเครื่อง หรือโปรแกรม หากท่านไม่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอ ไม่ควรแก้ไขด้วยตัวเอง ไม่ควรเปิดฝาเครื่อง ให้ติดต่อช่างเท่านั้น กรณีเครื่องอยู่ในระยะประกัน การเปิดฝาเพื่อแก้ไขเครื่อง จะมีผลให้ประกันสิ้นสุดได้
สำคัญที่สุด เมื่อท่านได้เป็นเจ้าของคอมพิวเตอร์ ควรจะต้องศึกษาถึงวิธีใช้และการดูแลรักษาที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้งานโปรแกรมต่างๆ ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ ไม่อาจจะรับผิดชอบในส่วนนี้ เช่นเดียว กับท่านซื้อรถยนต์ ท่านต้องขับให้เป็นและเรียนรู้กฏจราจร ด้วยตัวท่านเองและดูแลรักษาเอง ปัญหาที่เกิดจากการขับรถไม่เป็น ดูแลไม่เป็น ผู้จำหน่ายรถไม่อาจจะรับผิดชอบท่านได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น