คงไม่แปลกอะไรถ้าวันนี้เราจะเปลี่ยนหนอนคอมพิวเตอร์รุ่นก่อนๆ ว่าเป็น"ความเสียหายที่สามารถควบคุมได้" เพราะจากข้อมูลของไวรัสตัวเก่าๆ ที่มีนั้นสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าแม้มันจะสร้างความเสียหายร้ายแรงเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งติดเข้าไป แต่ก็ใช้เวลารักษาไม่นานนักก็หายได้
แม้ว่าชื่อของ Blaster และ Lovsan จะตกเป็นข่าวพาดหัวยักษ์ใหญ่ของวงการไอทีมาหลายวันแล้ว แต่หนอนคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า เช่น Magistr, Sircam, Nimda และ Bugbear ก็ยังคงอยู่ในระดับสุดยอดอันตรายที่บรรดาบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส เช่น McAfee และ Norton ต่างจดจำได้เป็นอย่างดี และไวรัสเหล่านี้สามารถพัฒนาโค้ดตัวเองได้รวดเร็วกว่าบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หรือระบบรักษาความปลอดภัย ส่งผลให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อแม้จะมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดีที่สุดในขณะนั้นก็อาจจะโดนเข้าได้เช่นกัน ซึ่งเหยื่อที่ถูกโจมตีไม่เลือกหน้านั้นมักจะเป็นประชาชน องค์กร รัฐบาล หรือบริษัทห้างร้าน จนเกิดคำถามว่า"ทำไมไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ฆ่าไม่ตายเสียที"
ท ำ ไ ม ถึ ง จั ด ก า ร กั บ ไ ว รั ส ไ ม่ ไ ด้ สั ก ที
"หนอนไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นถูกออกแบบมาให้สามารถดำรงชีวิตได้นานเท่าที่จะสามารถทำได้ เพราะยิ่งนานเท่าไร ความเสียหายก็มากขึ้นเท่านั้น" วินเซนต์ กัลล็อตโต ซีเนียร์ไดเร็คเตอร์ของ McAfee กล่าว "Magidtr และ Sircam เป็นตัวอย่างที่ดี มันมีจุดประสงค์ที่จะเคลื่อนย้ายตัวเองไปเรื่อยๆ ตรงนั้นนิด ตรงนี้หน่อย ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมไวรัสจะประเมินความสำเร็จของมันได้ก็ต่อเมื่อทราบว่าไวรัสสามารถอยู่ในโลกภายนอกได้นานขนาดไหน"
ไวรัสที่ประสบความสำเร็จมักจะเป็นตัวที่มีการแพร่เชื้อไปได้เรื่อยๆ หรือมีการติดเชื้อซ้ำสองเกิดขึ้นทั้งที่มีการป้องกันแล้ว ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัสมักจะเกิดจากการคลิกที่ภาพ หรือไฟล์แนบที่มากับอีเมล์ ยกตัวอย่างเช่น ไวรัส FunLove ซึ่งระบาดในช่วงปี ค.ศ. 1998 ก็เป็นหนึ่งในไวรัสที่จัดว่าประสบความสำเร็จ
โ ท ษ ผู้ ใ ช้ ดี ไ ห ม
กัลล็อตโตแห่ง Mcfee มีความเห็นว่า ประเด็นหลักที่ทำให้ไวรัสหลายตัวมีอายุยืนยาวนั้นเป็นเพราะขาดซึ่งการอัปเดตระบบแอนติไวรัส ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบนั้นๆ จะต้องบริหารความปลอดภัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด "ผู้ใช้ไม่ยอมอัปเดตโปรแกรมจากข้อมูลที่เราแจ้งไว้ ทำให้ไวรัสตัวดังกล่าวยังคงอยู่ในระบบ ไม่สามารถฆ่าให้ตายได้ และสามารถนำมาพัฒนาใหม่ได้ตลอดเวลา"
ก า ร แ พ ร่ เ ชื้ อ อ ย่ า ง ช า ญ ฉ ล า ด
"มันไม่ใช่การค้นหาไวรัสให้พบ แต่มันเป็นการหยุดการแพร่เชื้อนั้นๆ ลงให้ได้ และหากจำเป็นก็ให้ทำลายแบบถอนรากถอนโคนไปเลย แต่บางครั้งไวรัสที่พบในองค์กรหนึ่งๆ มีอัตราการแพร่กระจายที่ต่ำมาก เราเพียงแค่แก้ไขเฉพาะเครื่องที่ติดเชื้อให้ทันท่วงทีก็พอ ไม่จำเป็นต้องทำลายแบบถอนรากถอนโคน ก็สามารถแก้ไขได้แล้ว"
เ ท ค โ น โ ล ยี = ห ลุ ม ดั ก ไ ว รั ส
ไวรัสพัฒนามาจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นคงไม่แปลกหากการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถฆ่าไวรัสลงได้ด้วยเช่นกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงโปรโตคอล แพลตฟอร์ม หรือฟีเจอร์ต่างๆ ที่เป็นจุดอ่อนให้โค้ดไวรัสจ้องไปทำลาย "เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้บางทีหนอนไวรัสตกม้าตายได้ง่ายๆ เพียงเพราะมีระบบใหม่ที่ดีกว่าเข้ามาใช้ทดแทน ทำให้ระบบเก่าถูกยกเลิกไป ไวรัสซึ่งทำงานบนแพลตฟอร์มเก่าไม่สามารถทำงานได้บนแพลตฟอร์มใหม่ก็เลยต้องหายไปด้วย"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น