วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันการบินแห่งชาติ
ก่อนจะมาเป็น วันการบินแห่งชาติ
ในปี พ.ศ. 2454 ( 1911 ) ได้มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินแบบอองรีฟาร์มังมาแสดง การบินในประเทศไทย หลังการแสดงการบินของชาวต่างประเทศในปีเดียวกัน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ (เสนาธิการ ทหารบก ) ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 6 ) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบิน ที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ หลังนำความขึ้น กราบบังคมทูลกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้นายทหารนักบิน จำนวน 3 นาย ได้แก่ นายพันโท หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ , นายพันตรี หลวงอาวุธสิธกร และนายร้อยเอกหลวงทยาน พิมาฎ ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยในระหว่างที่นายทหารนักบินศึกษา วิชาการบินอยู่นั้น กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ หลังนายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย สำเร็จการศึกษาได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อม เครื่องบินจำนวน 8 ลำ ที่กระทรวงกลาโหมสั่งซื้อ เมื่อเครื่องบินถึงประเทศไทย นายทหารนักบินทั้ง 3 นาย ได้ ทดลองเครื่องบินครั้งแรกในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 หลังจากนั้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ขณะนั้นประเทศไทยนับ วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึงปี พ.ศ. 2483) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแสดงการบินครั้งแรกของประเทศ โดยนายทหาร นักบินไทยจำนวน 3 นาย ที่สำเร็จ การศึกษาวิชาการบินจากประเทศฝรั่งเศสและ ใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยบิน ถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งขณะนั้นประเทศไทย ได้เริ่มจัดตั้งแผนกการบิน โดยมีสนามบินและ โรงเก็บเครื่องบินที่สนามม้าสระปทุม นับเป็นการริเริ่มกิจการบินของประเทศไทย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ได้ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อ กิจการบินของชาติ จึงได้นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติคณะรัฐมนตรีได้เห็น ความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวและได้มีมติเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2537 กำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปีเป็น "วันการบินแห่งชาติ" (Thailand's National Aviation Day) โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา
ความเป็นมา ของวันการบินแห่งชาติ
ความคิดริเริ่มให้มี “ วันการบินแห่งชาติ ” (Thailand's National Aviation Day) พัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดกัน ในบรรดาผู้ร่วมงานกับมูลนิธิฯ ในขณะที่ทำงาน บูรณะฟื้นฟู ทำการบิน เก็บรักษา อนุรักษ์ก็ทำให้มีการศึกษาทบทวนถึงประวัติศาสตร์การริเริ่มและพัฒนากิจการบิน ของไทยที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้ให้พร้อมกับการพัฒนาอากาศยานของอารย ประเทศในยุโรปและอเมริกา หลังจากที่พี่น้องตระกูลไรท์ ประดิษฐ์เครื่องบินสำเร็จเป็น รายแรกของโลกได้เพียง ๘ ปี โดยที่ขณะนั้นประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ยังไม่มีโอกาส ริเริ่มกิจการบินของตนได้ กิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้าง อากาศยานใช้ราชการได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกับ ในยุโรปและอเมริกาแต่ก็มาหยุดชงัก ไปในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ การริเริ่มและพัฒนากิจการบินที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ก่อให้เกิดความเจริญทางด้าน ความมั่งคง ได้แก่กิจการบินทางทหารสามารถป้องปรามการล่วงล้ำอธิปไตยและป้องกัน ประเทศ ทั้งในสงครามอินโดจีน สงครามมหาเอเชียบูรพา และการปราบปรามการก่อ การร้ายมาโดยตลอด ด้านสังคมสามารถให้การช่วยเหลือ ลำเลียงผู้เจ็บป่วย ส่งไปรษณีย์ อากาศ และช่วยเหลือประชาชน ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั้งในภาวะปกติ และเมื่อประสบภัย พิบัติ เช่น กรณีเกิดโรคระบาด อุทกภัย ฯลฯ หลังจากได้สถาปนากิจการบินพลเรือนเปิด สายการบินในประเทศขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจ และสังคม การเดินทาง ขนส่งไปรษณีย์ สินค้าและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น จนพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนส่งทางอากาศ เป็นสายการบินระหว่างประเทศ แต่อุตสาหกรรมด้านกิจการบินทั่วไปสำหรับภาคเอกชน และอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยาน แทบไม่พัฒนาเลย ไม่เพียงพอกับ ความต้องการการขนส่งและการจราจร จึงทำให้ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ทั้งๆ ที่เราเริ่มต้นก่อนเขาเป็นเวลานาน
ประวัติศาสตร์การริเริ่มพัฒนากิจการบินอันเป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของคน ในชาติและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบันดังกล่าว น่าจะ ได้เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้งในภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทั่วไปได้ทราบ เห็นคุณค่าประโยชน์ ช่วยกันแก้ปัญหาพัฒนาและส่งเสริมกิจการบินและอุตสาหกรรม การบินของชาติให้เจริญสืบไปมูลนิธิฯ จึงริเริ่ม ให้มีวันการบินแห่งชาติขึ้นเพื่อเผยแพร่ ดังกล่าว
การดำเนินการให้มีวันการบินแห่งชาติ มูลนิธิฯ ร่วมกับกองทัพอากาศเชิญ ชวนส่วนราชการและภาคเอกชนประชุมหารือ ๒ ครั้ง ที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรการแสดง การบินโดยนักบินไทยและใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของ ชาติไทยเป็นครั้งแรก และได้ทรง สถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหม เป็นผลให้กิจการบินของไทยเจริญมาโดย ลำดับกองทัพอากาศได้ดำเนินการ นำเรียนผู้บัญชาการการทหารสูงสุดเสนอกระทรวง กลาโหมขอความเห็นชอบ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบเมื่อ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๗ กำหนดให้วันที่ ๑๓ มกราคม ของทุกปีเป็นวัน การบินแห่งชาติกับให้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญดังกล่าว ความมุ่งหมายและขอบเขตในการจัดงาน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการ การบินของไทย เห็นคุณค่าประโยชน์ของกิจการบิน สนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรม การบินของชาติเจริญก้าวหน้าสืบไปโดย
1. ให้มีนิทรรศการอากาศยาน อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และผลงานการบินแสดง ถึงประวัติการริเริ่มสถาปนากิจการบินขึ้นในประเทศไทย จากการบินทหารจนส่งผลให้ พัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบัน
2. จัดให้มีการประชุมสัมมนา เรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ (เกี่ยวกับการผลิต การบินขนส่งพาณิชย์ของสายการบิน และการบินทหาร) เพื่อทราบ สถานภาพของอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยในปัจจุบัน ตลอดจนแนวทางที่จะ พัฒนาอุตสาหกรรมการบินให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคม และด้านความมั่นคงของชาติ
การจัดงานวันการบินแห่งชาติ ปี ๒๕๓๘ มูลนิธิฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประสานงานจัดงาน วันการบินแห่งชาติขึ้น ประสานกับกองทัพอากาศ และหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนเมื่อได้แนวทาง กิจกรรม วัตถุประสงค์ในการจัดงานแล้ว กองทัพอากาศ ได้ดำเนินเรื่องขอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพ และสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานรัฐบาล ได้ตอบรับเป็นเจ้าภาพการจัดงาน “ วันการบินแห่งชาติ ” ๒๕๓๘ และแต่งตั้งคณะกรรมการ จัดงานวันการบินแห่งชาติ
1. คณะกรรมการอำนวยการจัดงานวันการบินแห่งชาติมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ
2. คณะกรรมการดำเนินการจัดงานวันการบินแห่งชาติมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานฯ
3. คณะอนุกรรมการจัดงานวันการบินแห่งชาติ ๙ คณะและสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการการจัดงานวันการบินแห่งชาติโดยคณะอนุกรรมการดังกล่าว มีคณะ อนุกรรมการเตรียมงานฯ จำนวนหนึ่งที่มูลนิธิฯ แต่งตั้งขึ้นร่วมอยู่ด้วย มีคณะกรรมการ กิจกรรมหลักด้านต่างๆ ๔ คณะ คือ ด้านประชุมสัมมนาด้านพัฒนาและส่งเสริม อุตสาหกรรมการบินภาคเอกชน ด้านจัดนิทรรศการการบินและด้านสรรหาบุคคล ดีเด่นด้านการบินและการอวกาศแห่งชาติ รวมทั้งคณะกรรมการสนับสนุนด้านอื่นอีก ๕ คณะ ประชาสัมพันธ์ งบประมาณการเงิน พิธีการอำนวยความสะดวกและการขนส่ง ความปลอดภัยและการจราจร
กำหนดการจัดงานในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๖ มกราคม ๒๕๓๘ โดยจัดประชุมสัมมนา “ วันการบินแห่งชาติ” เรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศ แบ่งเป็นการประชุม สัมมนาภาคเอกชน ภาครัฐ และภาครัฐร่วมกับเอกชน ล่วงหน้าก่อน ๒ เดือน และประชุม สัมมนารวมทั้งภาครัฐ เอกชนและผู้สนใจจากต่างประเทศ ในวันที่ ๑๓ – ๑๔ มกราคม ๒๕๓๘ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รวมทั้งพิธีมอบรางวัล
บุคคลดีเด่นด้านการบินและการอวกาศแห่งชาติ ใน ๑๔ มกราคม ๒๕๓๘ การจัด นิทรรศการการบิน จัดที่บริเวณลานจอดรถอากาศยานกองทัพอากาศ ฝั่งตะวันออก ของสนามบินดอนเมือง ในวันที่ ๑๓ – ๑๖ มกราคม ๒๕๓๘
การจัดงาน
ด้านจัดนิทรรศการ ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ แสดงอากาศยาน อุปกรณ์และภาพแสดงวิวัฒนาการและประวัติศาสตร์การบิน จัดตั้งคูหาในโรงเก็บ อากาศยานตั้งแสดงเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การบิน เทคโนโลยีและผลงาน ด้านอุตสาหกรรมการบิน มีหน่วยงานจากภาครัฐและเอกชน ร่วมแสดง ๔๖ ราย มีการตั้งแสดงอากาศยานจาก ๒๐ หน่วย จำนวน ๕๕ เครื่อง แสดงการบิน ๗ หน่วยงาน จำนวนเครื่องบิน ๒๑ เครื่อง มีประชาชนสนใจเข้าชมมากพอสมควร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น